
ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป กฎหมายปลดล็อกกัญชา ออกจากรายชื่อสารเสพติดให้โทษในประเภท 5 จะมีผลบังคับใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้กระแสสนใจอยากจะปลูกกัญชาและบริโภคอาหารจากกัญชามากขึ้น แต่ยังเกิดข้อกังวลเกี่ยวกับความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโทษและประโยชน์ในการบริโภคกัญชาอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อตัวเองและสังคม

คำแนะนำในการใช้กัญชาทางการแพทย์ จากกระทรวงสาธารณสุข ได้รับรองประโยชน์จากสาร THC และ CBD ว่ามีประโยชน์สำหรับการเจ็บป่วยในเบื้องต้น 4 ภาวะ ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และภาวะปวดปลายประสาท โดยภาวะเจ็บป่วยและอาการอื่น ๆ ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมทางการแพทย์

แม้ว่าจะแจ้งข้อมูลผ่านแอพพลิเคชัน "ปลูกกัญ" ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้นมาก็สามารถปลูกกัญชาที่บ้านได้ แต่หากมีสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือ THC เกินกว่า 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาตหรือใบสั่งแพทย์ยังถือว่ามีความผิด ซึ่งตำรวจอาจเรียกตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา ดำเนินคดีภายหลัง
จะใช้กัญชาอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะประกาศให้ใช้ส่วนใบของกัญชาประกอบอาหารได้ แต่ต้องบริโภคในปริมาณที่พอดีไม่มากจนเกินไป

- เสพแล้วต้องไม่ขับขี่ยานพาหนะหากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร
- อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาควรมีสารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
- ไม่ควรทานกัญชาแบบทั้งใบหรือใบที่ผ่านความร้อนแล้วเกิน 5 - 8 ใบต่อวัน หากเพิ่งเริ่มกินควรทานแค่ครึ่งใบ -1 ใบต่อวัน
- ไม่ควรทานใบกัญชาแก่หรือใบกัญชาตากแห้ง เนื่องจากมีสาร THC สูงกว่าใบอ่อน
- หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยความร้อนมาก ๆ เพราะจะทำเพิ่มค่า THC มากยิ่งขึ้น
- ไม่ควรทานกัญชา พร้อมกับอาหารไขมัน เนื่องจากจะเพิ่มการดูดซึม
- ไม่ควรทานใบกัญชาร่วมกับแอลกอฮอล์
- ไม่ควรทานเมนูกัญชาปริมาณมาก ๆ ในครั้งเดียว เพราะกัญชาออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่หากสูบผิดวิธีอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้
สิ่งที่ต้องระวัง คือ กลุ่มเปราะบาง อาทิ สตรีตั้งครรภ์ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต รวมถึง ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำหากต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ ไม่เช่นนั้นอาจะเกิดผลข้างเคียงได้
นอกจากนี้ ตามรายงานของศศก. ควรระมัดระวัง ใช้กัญชาร่วมกับเหล้าเบียร์ งานวิจัยล่าสุดจาก ศูนย์วิจัยการเสพติดแอลกอฮอล์ Brown University และ Rutger University ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาผลกระทบทางลบของการใช้กัญชาร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบใช้พร้อมกัน (simultaneous use)

เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้กัญชาและแอลกอฮอล์แต่ไม่ได้ใช้พร้อมกัน (concurrent use) และกลุ่มที่ใช้เพียงแอลกอฮอล์เท่านั้น โดยทำการศึกษาในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยอายุระหว่าง 18 - 24 ปี ที่เคยใช้แอลกอฮอล์และกัญชาในช่วงปีที่ผ่านมา สำรวจโดยการใช้แบบสำรวจออนไลน์กลุ่มตัวอย่างที่เข้ามาตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 1,390 คน
ผลที่ได้คือ กลุ่มที่ใช้กัญชาร่วมกับแอลกอฮอล์แบบพร้อมกัน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบสูงสุด โดยผลกระทบด้านลบที่ทำการศึกษาประกอบด้วยผลกระทบด้านความคิด, การเรียน, สังคม และการดูแลตัวเอง, จำเหตุการณ์ไม่ได้ (Blackouts), คลื่นไส้อาเจียน, พฤติกรรมเสี่ยง, ขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา และการพึ่งพายาทางกาย
No comments:
Post a Comment